วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การใช้ยา

    ยา  หมายถึง สารหรือวัตถุปรุงแต่งที่นำมาใช้โดยมีจุดมุ่งหมาย  คือ  บำบัดโรครักษาโรค บรรเทาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ป้องกันโรค  และเสริมสร้างสุขภาพ  เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจไม่ให้เกิดความ
ทุกข์ทรมานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์   ถึงแม้ยาจะช่วยบรรเทาและรักษาอาการเจ็บป่วยได้
แต่ถ้าเราใช้ยาผิดวิธี ผิดประเภท ผิดขนาด ยาก็สามารถให้โทษต่อร่างกายของเรา อาจทำหเจ็บป่วยและถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้   ดังนั้นเราจึงควรรู้จักประเภทของยา หลักการใช้ยา   รวมถึงวิธีการเก็บรักษายา เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการใช้ยา  และมีความปลอดภัยต่อร่างกายของเราด้วย


ยาที่เราเห็นมากมายในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งได้  5 ประเภท ตามพระราชบัญญัติยา ดังนี้

1.  ยาแผนปัจจุบัน คือ ยาที่ใช้กันใน       ปัจจุบัน มีการแยกตัวยาสำคัญออกมา      ตามกรรมวิธีแผนใหม่ สังเคราะห์ยาขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพดี และมีพิษน้อย ซึ่งจะบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดผนึกไว้ และมีฉลากครบถ้วน

2. ยาแผนโบราณ คือ ยาที่ใช้กันมาในอดีตเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันก็ยังคงมีใช้อยู่บ้าง ยาแผนโบราณได้จากพืช  สัตว์  และแร่ธาตุซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งจะอาศัยความรู้จากการบอกเล่าหรือเรียนสืบต่อกันมา ไม่ใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์เหมือนอย่างยาแผนปัจจุบัน โดยจะนำมาทำให้อยู่ในรูปแบบที่สะดวกในการใช้  เช่น เป็นลูกกลอน  เป็นผง 
        ยาแผนโบราณที่ถูกกฏหมาย  จะต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณอย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น
 
 3. ยาสามัญประจำบ้าน (ยาตำราหลวง) คือ ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขคัดเลือกแล้วว่าเป็นยาที่เหมาะสมที่จะให้ประชาชนหาซื้อมาใช้ได้ด้วยตนเอง เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ และไม่มีอาการรุนแรง เช่น ไอ ปวดศีรษะ ถูกน้ำร้อนลวก ท้องอืดท้องเฟ้อ ถูกมีดบาด
เป็นต้น 
        ยาสามัญประจำบ้าน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาตำราหลวง จัดเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ส่วนใหญ่จะมีราคาถูก สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์  

          ถ้าอยากรู้ว่ายาชนิดไหนคือ ยาสามัญประจำบ้าน ให้ดูที่ฉลากจะต้องมีคำว่า " ยาสามัญประจำบ้าน"  อยู่ในกรอบสีเขียว และแบ่งได้ 16 กลุ่มตามอาการของโรค ดังนี้ 
1. ยาแก้ปวดลดไข้ ยาเม็ดพาราเซตามอล
5. ยาแก้เมารถ เมาเรือ
2. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก  
6. ยากวาดคอ ยาม่วง ยาอม
สำหรับโรคปาก และลำคอ
3. ยาแก้ไอน้ำดำ ขับเสมหะ
7. ยาธาตุ ยาเม็ด มหาหิงค์ สำหรับ
แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ 
4. ยาดม ยาหม่อง สำหรับแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก
8. ยาแก้ท้องเสีย และเกลือแร่

4.ยาอันตราย คือ ยาแผนปัจจุบันที่มีอันตรายหากซื้อมาใช้โดยไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์หรือเภสัชกร ยาในกลุ่มนี้จะมีคำว่า ยาอันตราย ในกรอบสีแดง ระบุไว้บนฉลากข้างขวด หรือกล่องใส่ยา ยาอันตรายมีมากมายหลายชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันเลือด ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น5.ยาสมุนไพร คือ ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งยังมิได้ผสม ปรุงแต่ง สังเคราะห์ ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาตากแห้ง นำมาหั่นให้เล็กลง หรือนำมาบดเป็นผง เป็นต้น

หลักการใช้ยา























อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ


อาหาร คือ สิ่งที่เราบริโภค เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วจะให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย   อาหารมีทั้งที่มาจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เกลือ น้ำ และสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ และ จุลินทรีย์

 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  คือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภค ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หรือใช้เพื่อสุขอนามัย โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษต่อผู้ใช้ก็ได้ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่  ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป วิตามิน เครื่องปรุงรสอาหาร อาหารเสริม เป็นต้น
อาหารหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น อาจก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษต่อผู้ใช้ก็ได้ ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ดังนี้
หลักในการเลือกบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
 1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรม หรือสินค้าที่มีเครื่องหมายเลขทะเบียนอาหารและยา (อย.)


2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นมีประโยชน์และมีคุณค่า
3. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากระบุข้อมูลสำคัญที่ผู้บริโภคควรรู้ เช่น ระบุผู้ผลิต หรือแหล่งผลิตที่ชัดเจน ระบุวันเดือนปีที่ผลิต วันหมดอายุ  วิธีใช้ เป็นต้น ถ้าเป็นวัตถุอันตรายควรมีเครื่องหมายเตือนอันตรายบนผลิตภัณฑ์ด้วย

4. ผลิตภัณฑ์สุขภาพบางชนิดควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ เช่น ยา วิตามิน เครื่องสำอาง